ประวัติ ของ ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว

ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว เป็นบุตรชายคนโตของ นายวิวัธน์ และนางพวง ปิ่นเฉลียว มีพี่สาวชื่อ มาลัย มีน้องชายคือ วาทิน ปิ่นเฉลียว (ต่วย) และน้องสาว คือ จินตนา ปิ่นเฉลียว (ภักดีชายแดน) (นามปากกา จินตวีร์ วิวัธน์) [1] ปกรณ์เกิดที่บ้านตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่าไมรา ปิ่นเฉลียว ซึ่งบิดาตั้งให้คล้องจองกับชื่อพี่สาวว่า มาลัย-ไมรา [2]

ไมราติดตามบิดามาอยู่กรุงเทพตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้สมัครเป็นสารวัตรทหาร เพื่อทำงานร่วมกับขบวนการเสรีไทย เพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น จากนั้นได้สมัครเข้ารับราชการตำรวจ รับราชการอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแพร่ จังหวัดชัยภูมิ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2508 ในตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล

ปกรณ์เปลี่ยนชื่อจากไมราเป็นปกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2494 ขณะใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดแพร่ ตามชื่อของปกรณ์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ในขณะนั้น [2] เนื่องจากมีพระสงฆ์ทักว่าชื่อไมราเป็นกาลกิณีกับตัวเอง [1] สมรสกับสายสมร เทียนประภาสิทธิ์ ครูชาวจังหวัดแพร่ เมื่อ พ.ศ. 2498 มีบุตร 3 คน

ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว ได้รับรางวัลช่อการะเกดเกียรติยศ เมื่อปี พ.ศ. 2539 [3]

ใกล้เคียง